สัปดาห์นี้มีเรื่องที่คิดว่าน่าสนใจ ขอเลือกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7 เรื่อง
ดังนี้
1. วันที่ 21
ก.พ.57 คุณ Nok
Noknok บรรณารักษ์ชำนาญการ ถามในหน้าเฟซบุ๊คผม ว่า การพิจารณาโอนย้ายจากบรรณารักษ์เป็นข้าราชการครู
พิจารณาคุณสมบัติยังไง
และถามอีกว่า การขอโอนย้ายให้ทำช่วงเดือนไหน ที่เคยทำไปแล้ว ไม่เอามาพิจารณาใหม่เหรอ
และ นายสำลี มลิวัน บรรณารักษ์ หสม.อ.ป่าติ้ว ถามว่า เขียนย้าย 1-16 กุมภาพันธ์ เมื่อกี้ ประมาณเดือนไหนคำสั่งย้ายจะออก
และถามอีกว่า การขอโอนย้ายให้ทำช่วงเดือนไหน ที่เคยทำไปแล้ว ไม่เอามาพิจารณาใหม่เหรอ
และ นายสำลี มลิวัน บรรณารักษ์ หสม.อ.ป่าติ้ว ถามว่า เขียนย้าย 1-16 กุมภาพันธ์ เมื่อกี้ ประมาณเดือนไหนคำสั่งย้ายจะออก
ผมตอบว่า ให้ดูข้อมูลต่าง ๆ
ในคำตอบเดิม จาก
- ในข้อ 3 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2013/11/asean.html และ
- ในข้อ 3.1 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/438277
- ในข้อ 3 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2013/11/asean.html และ
- ในข้อ 3.1 ที่ http://www.gotoknow.org/posts/438277
ตามระเบียบ ก.ค.ศ. การขอย้ายกรณีปกติ ให้ยื่นขอย้ายได้ปีละ 2 ช่วง คือ 1-15
ก.พ. กับ 1-15 ส.ค. ( ก.ค.ศ.ส่งระเบียบนี้ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ครั้งเดียว
แล้วไม่ได้แจ้งใหม่อีกปีละ 2 รอบ )
คำร้องขอย้ายใช้ได้รอบเดียว ถ้ายังไม่ได้ย้ายตามคำขอ เมื่อถึงช่วงขอย้ายใหม่ต้องยื่นใหม่
คำสั่งย้ายจะออกเมื่อไร ไม่แน่ ปกติ ยื่นขอย้ายในช่วง 1-15 ก.พ. ถ้าได้ย้าย คำสั่งย้ายจะออกประมาณ เม.ย.-พ.ค. ถ้าขอย้ายในช่วง 1-15 ส.ค. คำสั่งย้ายจะออกประมาณ ต.ค.-พ.ย.
คำร้องขอย้ายใช้ได้รอบเดียว ถ้ายังไม่ได้ย้ายตามคำขอ เมื่อถึงช่วงขอย้ายใหม่ต้องยื่นใหม่
คำสั่งย้ายจะออกเมื่อไร ไม่แน่ ปกติ ยื่นขอย้ายในช่วง 1-15 ก.พ. ถ้าได้ย้าย คำสั่งย้ายจะออกประมาณ เม.ย.-พ.ค. ถ้าขอย้ายในช่วง 1-15 ส.ค. คำสั่งย้ายจะออกประมาณ ต.ค.-พ.ย.
2. โปรแกรมเทียบระดับสูงสุดฯ
(KSM) รุ่น 1.1 ( 20 ก.พ. 57 ) จากคุณสุขุม ศรีวิไลฤทธิ์
มีรายการแก้ไขเพิ่มเติมจากรุ่นวันที่ 6 ม.ค. 57 ดังนี้
1) แก้ไขโปรแกรมให้ใช้งานในระดับสำนักงาน กศน.จังหวัดได้ (โดยต้อง restore ข้อมูลของอำเภอก่อน) เพื่อออกรายงานต่างๆในภาพรวมระดับจังหวัด และเพิ่มการตรวจสอบเลขบัตรประชาชนซ้ำในจังหวัด
2) แก้ไขในเรื่องสถิติ (เมนูหลัก 6) โดยแก้ไขการสร้างข้อมูลสถิติและการรายงานสถิติ ให้มีความถูกต้องมากขึ้น และเพิ่มเมนูรวบรวมข้อมูลสถิติระดับสำนักงาน กศน. ส่วนกลาง (ใช้ได้เฉพาะรหัสสถานศึกษา 1210000000)
3) แก้ไขรายงานสั่งข้อสอบภาคทฤษฎี (เมนูหลัก 2 ย่อย 8) โดยปรับรูปแบบไฟล์ที่บันทึกเป็น excel ใหม่ให้คล้ายกับที่ส่งให้ สทศ.
4) แก้ไขการบันทึกคะแนนภาคทฤษฎี (เมนูหลัก 3 ย่อย 2) โดยแก้ปัญหาคะแนนไม่ถูกต้องเมื่อย้อนกลับไปแก้ไขคะแนนรอบแรก หลังจากบันทึกคะแนนรอบสองไปแล้ว
5) แก้ไขปัญหาการติดตั้งบน Windows 8 บางเครื่องไม่ได้ และแก้เรื่องรันโปรแกรมบางครั้งจะขึ้นหน้าจอติดตั้ง
6) แก้ไขการอ่านคะแนนภาคประสบการณ์ ให้แสดงคะแนนทฤษฎีของคนที่ไม่มีคะแนนประสบการณ์ด้วย
7) ปรับแก้ไขข้อมูลกรณีเปิดปีการศึกษาผิด จาก 2/56 เป็น 1/57 โดยที่โปรแกรมจะเปลี่ยนรหัสนักศึกษาและข้อมูลลงทะเบียนไปเป็น 2/56 ให้อัตโนมัติ รวมถึงเปลี่ยนข้อมูลการเปิดปีการศึกษาจาก 1/57 เป็น 2/56
8) แก้ไขบัคอื่นๆ
มีรายการแก้ไขเพิ่มเติมจากรุ่นวันที่ 6 ม.ค. 57 ดังนี้
1) แก้ไขโปรแกรมให้ใช้งานในระดับสำนักงาน กศน.จังหวัดได้ (โดยต้อง restore ข้อมูลของอำเภอก่อน) เพื่อออกรายงานต่างๆในภาพรวมระดับจังหวัด และเพิ่มการตรวจสอบเลขบัตรประชาชนซ้ำในจังหวัด
2) แก้ไขในเรื่องสถิติ (เมนูหลัก 6) โดยแก้ไขการสร้างข้อมูลสถิติและการรายงานสถิติ ให้มีความถูกต้องมากขึ้น และเพิ่มเมนูรวบรวมข้อมูลสถิติระดับสำนักงาน กศน. ส่วนกลาง (ใช้ได้เฉพาะรหัสสถานศึกษา 1210000000)
3) แก้ไขรายงานสั่งข้อสอบภาคทฤษฎี (เมนูหลัก 2 ย่อย 8) โดยปรับรูปแบบไฟล์ที่บันทึกเป็น excel ใหม่ให้คล้ายกับที่ส่งให้ สทศ.
4) แก้ไขการบันทึกคะแนนภาคทฤษฎี (เมนูหลัก 3 ย่อย 2) โดยแก้ปัญหาคะแนนไม่ถูกต้องเมื่อย้อนกลับไปแก้ไขคะแนนรอบแรก หลังจากบันทึกคะแนนรอบสองไปแล้ว
5) แก้ไขปัญหาการติดตั้งบน Windows 8 บางเครื่องไม่ได้ และแก้เรื่องรันโปรแกรมบางครั้งจะขึ้นหน้าจอติดตั้ง
6) แก้ไขการอ่านคะแนนภาคประสบการณ์ ให้แสดงคะแนนทฤษฎีของคนที่ไม่มีคะแนนประสบการณ์ด้วย
7) ปรับแก้ไขข้อมูลกรณีเปิดปีการศึกษาผิด จาก 2/56 เป็น 1/57 โดยที่โปรแกรมจะเปลี่ยนรหัสนักศึกษาและข้อมูลลงทะเบียนไปเป็น 2/56 ให้อัตโนมัติ รวมถึงเปลี่ยนข้อมูลการเปิดปีการศึกษาจาก 1/57 เป็น 2/56
8) แก้ไขบัคอื่นๆ
link สำหรับ download โปรแกรมติดตั้งโปรแกรมเทียบระดับสูงสุดฯ
รุ่น 1.1
- https://dl.dropboxusercontent.com/u/15540884/KSM_20022014_Setup.zip หรือ
- https://drive.google.com/file/d/0B6tQobXfGWLEUVdRaURTaFQ4RG8/edit?usp=sharing
- https://dl.dropboxusercontent.com/u/15540884/KSM_20022014_Setup.zip หรือ
- https://drive.google.com/file/d/0B6tQobXfGWLEUVdRaURTaFQ4RG8/edit?usp=sharing
3. วันที่
23 ก.พ.57 ท่าน
ผอ.สนง.กศน.จ.พระนครศรีอยุธยา โพสต์ในเฟซบุ๊ค ว่า “ไปเยี่ยมสนามสอบ
กศน.อ.บางปะหัน มีปัญหาขาดสอบมาก
ได้รับการรายงานว่าเป็นผลกระทบจากการเพิ่มจำนวนชั่วโมง กพช.จาก 100 ชั่วโมงเป็น 200 ชั่วโมง
มีผลให้นักศึกษาจำนวนหนึ่งตัดสินใจจะเลิกเรียน
กรณีนี้จะต้องหาแนวทางจูงใจนักศึกษาให้กลับมาเรียนต่อ โดยออกแบบ
กพช.ให้ทำได้ 200 ชั่วโมงอย่างไม่ลำบากนัก เพราะหากนักศึกษาลดน้อยถอยลงก็จะมีผลต่อจำนวนครูที่จ้างโดยเงินอุดหนุน”
คืนวันที่ 24 ก.พ.57
ผมเข้าไปโพสต์ร่วมแสดงความคิดเห็น ว่า
การสอบปลายภาค ถ้าจัดห้องสอบตามจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนทุกคน ห้องละ 30 คน ก็คงขาดสอบมากอีก
ยากที่จะทำให้สมดุล ระหว่าง
1) นโยบายการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ( กพช. 200 ชม., เรียนสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง ถ้าไม่เป็นตามเกณฑ์ไม่มีสิทธิ์สอบปลายภาค )
2) การจัดการศึกษา เพื่อ ให้ครูมีงานทำ ( ครูทุกประเภทต้องมีจำนวนนักศึกษาตามเกณฑ์ ส่งผลให้มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งที่ไม่เต็มใจหรือไม่รู้ตัวในการขึ้นทะเบียน/ลงทะเบียนเรียน )
การทำให้สมดุล ยาก ( พูดได้ แต่ทำ... ... ) ถ้าทำตามข้อ 1. ( ทำแบบจริง ๆ ) ผู้ไม่มีสิทธิสอบจะมีประมาณ 60 %
ถ้าจะต้องเลือก ครูและผู้บริหารจะเลือกยึดข้อ 2. ลดข้อ 1. โดยให้เหตุผลว่า การทำให้นักศึกษา กศน.มีคุณภาพ ไม่จำเป็นต้องทำ กพช.200 ชม. ไม่ต้องมาเรียนสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง ก็มีคุณภาพได้
การสอบปลายภาค ถ้าจัดห้องสอบตามจำนวนผู้ลงทะเบียนเรียนทุกคน ห้องละ 30 คน ก็คงขาดสอบมากอีก
ยากที่จะทำให้สมดุล ระหว่าง
1) นโยบายการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ( กพช. 200 ชม., เรียนสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง ถ้าไม่เป็นตามเกณฑ์ไม่มีสิทธิ์สอบปลายภาค )
2) การจัดการศึกษา เพื่อ ให้ครูมีงานทำ ( ครูทุกประเภทต้องมีจำนวนนักศึกษาตามเกณฑ์ ส่งผลให้มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งที่ไม่เต็มใจหรือไม่รู้ตัวในการขึ้นทะเบียน/ลงทะเบียนเรียน )
การทำให้สมดุล ยาก ( พูดได้ แต่ทำ... ... ) ถ้าทำตามข้อ 1. ( ทำแบบจริง ๆ ) ผู้ไม่มีสิทธิสอบจะมีประมาณ 60 %
ถ้าจะต้องเลือก ครูและผู้บริหารจะเลือกยึดข้อ 2. ลดข้อ 1. โดยให้เหตุผลว่า การทำให้นักศึกษา กศน.มีคุณภาพ ไม่จำเป็นต้องทำ กพช.200 ชม. ไม่ต้องมาเรียนสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง ก็มีคุณภาพได้
4. หนังสือราชการระหว่าง กศน.อำเภอ กับ กศน.จังหวัด ให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
วันที่ 25 ก.พ.57 คุณ “Tassung Ka” ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า หนังสือราชการจาก กศน.อำเภอไปสำนักงาน กศน.จังหวัด ปกติที่เคยใช้เป็นหนังสือครุฑ ต่อมามีผู้รู้บอกว่าหน่วยงานเดียวกันให้เปลี่ยนเป็นใช้บันทึกข้อความ ขอถามระเบียบงานสารบรรณอย่างไหนถูกต้อง หรือใช้ได้ทั้งสองอย่าง ถ้าใช้ได้ทำไมไม่ใช้ให้เหมือนกัน
ผมตอบว่า
- หนังสือภายนอก ( กระดาษตราครุฑ ) ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการกับหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกส่วนราชการนั้น เช่น ใช้ติดต่อระหว่างส่วนราชการหนึ่งกับส่วนราชการหนึ่ง ( ต่างกรม ) หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หรือมีถึงบุคคลภายนอก เช่น กระทรวงพาณิชย์ มีหนังสือ ถึงกระทรวงอุตสาหกรรม กรมการค้าต่างประเทศมีหนังสือถึงบริษัท กก จำกัด หรือถึง นายกร เก่งทุกทาง เป็นต้น
- หนังสือภายใน ( กระดาษบันทึกข้อความ ) ใช้ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน
ที่ถูก หนังสือราชการติดต่อระหว่าง กศน.อำเภอ กับ กศน.จังหวัด ซึ่งอยู่ในสังกัดส่วนราชการเดียวกัน ต้องเป็นหนังสือภายใน แต่เรา "นิยม" ใช้เป็นหนังสือภายนอกกันมานาน ก็ไม่ถือว่าใช้ไม่ได้
5. ผู้บริหาร กศน. กับการแสดงบทบาททางการเมือง
คืนวันเดียวกัน ( 25 ก.พ.) คุณ Amy Ae ถามผมผ่านเฟซบุ๊ค ว่า ขอทราบเหตุผลว่า ทำไมผู้บริหารของ กศน ในแต่ละจังหวัดแต่ละอำเภอถึงไม่กล้าที่จะแสดงบทบาททางการเมืองบ้าง เพราะว่ากลัวใช่มั้ย
และผู้บริหารแต่ละอำเภอเวลาจะไปราชการในแต่ละครั้ง ต้องสำรองเงินจ่ายเองก่อนแล้วถึงตั้งเบิกเงินจากรัฐภายหลัง เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า รวมทั้ง เวลามีกิจกรรมเกี่ยวกับชาวบ้าน ผู้บริหารจะต้องจ่ายไปก่อนแล้วตั้งเบิกภายหลังจริงหรือเปล่า
ผมตอบว่า
1) การแสดง หรือไม่แสดงบทบาททางการเมือง ของผู้บริหาร อาจมี 2 สาเหตุ
- แสดงออกหรือไม่แสดงออกอย่างไร เพราะเขาเองก็มีทัศนะทางการเมืองตรงตามนั้น ( ผู้บริหารบางคนก็มีทัศนะทางการเมืองขั้วหนึ่ง บางคนก็อีกขั้วหนึ่ง )
- แสดงออกหรือไม่แสดงออก เพื่อความอยู่รอด เพื่อความก้าวหน้า
2) การไปราชการ หรือการจัดกิจกรรม ก็มีทั้ง 2 แบบ บางคนบางครั้งก็ทดรองจ่ายเงินส่วนตัวไปก่อน บางคนบางครั้งก็ยืมเงินราชการทดรองจ่ายไปก่อน ส่วนใหญ่ถ้าเป็นเงินจำนวนมากจะยืมเงินราชการทดรองจ่ายไปก่อน
6. วันที่ 28 ก.พ.56 “เมธวีย์ ฟาร์ม” ครู ศศช. กศน.อ.กัลยาณิวัฒนา ถามในเฟซบุ๊คกลุ่มครูนอกระบบ ว่า เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้จ่ายเงินได้ ของ กศน. คืออะไร
ผมตอบว่า การยื่นเสียภาษีประจำปี นอกจากจะใช้เลขประจำตัวประชาชนของผู้เสียภาษีแล้ว สรรพากรเขาให้ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้จ่ายเงินด้วย ซึ่งหมายถึงผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น ถ้าอยู่ในอำเภอ/จังหวัด ก็ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของ สนง.กศน.จังหวัด
ต้องถามที่ สนง.กศน.จังหวัดนั้น ๆ แต่ละจังหวัดไม่เหมือนกัน
7. เย็นวันที่ 3 มี.ค.57 ผมเผยแพร่ในเฟซบุ๊ค เรื่องการขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี และการขอเครื่องราชฯชั้นสายสะพาย ว่า ถึงเวลาขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปีแล้ว
- พนักงานราชการที่ได้เครื่องราชฯชั้นที่ 5 ( บ.ช. : เบญจมาภรณ์ช้างเผือก ) มาครบ 5 ปี นับถึงวันที่ 5 ธ.ค.57 ปีนี้ให้ขอพระราชทานชั้นที่ 4 ( จ.ม. : จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย )
- ตามหนังสือแจ้งของสำนักงาน กศน. ในส่วนของการขอเครื่องราชฯชั้นสายสะพาย (
ป.ม. ) สำหรับระดับ 8 ( คศ.3 ) ให้ขอได้เฉพาะผู้บริหาร
ที่เงินเดือนเต็มขั้น ได้ ท.ช.มาแล้ว 5 ปี
และเป็นปีที่เกษียณ หรือจะเกษียณ เท่านั้น
ดูหนังสือแจ้งของสำนักงาน กศน. ที่
http://203.147.62.104/webnfe/attachments/40807_File0069.PDF
( เดิม ผู้บริหาร และครู คศ.3 ที่ไม่ใช่ปีที่จะเกษียณ ถ้าเข้าเกณฑ์ 2 ข้อคือ
1) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เงินเดือนถึง 53,050 บาท ตั้งแต่ “ก่อน” วันที่ 1 ต.ค.57
2) ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ท.ช.มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 5 ธ.ค.57
ก็ให้ขอไปด้วยได้ แต่ที่ขอไปปีที่แล้วไม่ได้รับอนุมัติ
ดูข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/02/ratcha.html )
ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0508/ท1330 ลงวันที่ 3 มี.ค.57 ( ลงในเว็บไซต์สำนักงาน กศน. ) แจ้งว่า คศ.3 ขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ได้เฉพาะ ผอ.ที่จะเกษียณเท่านั้น ฉะนั้น ถ้าไม่ใช่ คศ.4 และไม่ใช่ ผอ.ที่จะเกษียณ ก็ไม่ต้องขอเครื่องราชฯชั้นสายสะพายไปอีกแล้ว
( เดิม ผู้บริหาร และครู คศ.3 ที่ไม่ใช่ปีที่จะเกษียณ ถ้าเข้าเกณฑ์ 2 ข้อคือ
1) วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เงินเดือนถึง 53,050 บาท ตั้งแต่ “ก่อน” วันที่ 1 ต.ค.57
2) ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ท.ช.มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ 5 ธ.ค.57
ก็ให้ขอไปด้วยได้ แต่ที่ขอไปปีที่แล้วไม่ได้รับอนุมัติ
ดูข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในข้อ 1 ที่ http://nfeph.blogspot.com/2014/02/ratcha.html )
ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0508/ท1330 ลงวันที่ 3 มี.ค.57 ( ลงในเว็บไซต์สำนักงาน กศน. ) แจ้งว่า คศ.3 ขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ได้เฉพาะ ผอ.ที่จะเกษียณเท่านั้น ฉะนั้น ถ้าไม่ใช่ คศ.4 และไม่ใช่ ผอ.ที่จะเกษียณ ก็ไม่ต้องขอเครื่องราชฯชั้นสายสะพายไปอีกแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ/ข้อสงสัย